ค้นหาสมุนไพร  
     
   
   
   
     
 
   
eherb ผลการค้นหา ข้าวเม่านก, หญ้าคอตุง
ข้าวเม่านก, หญ้าคอตุง
Tadehagi triquetrum (L.) Ohashi
 
 
 
 
 
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์
 
  วงศ์ Papilionaceae
 
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Tadehagi triquetrum (L.) Ohashi
 
  ชื่อไทย ข้าวเม่านก, หญ้าคอตุง
 
  ชื่อท้องถิ่น หญ้าคอตุง(ไทลื้อ), ตุ๊ดต๊กงล,หญ้าคอตุง(ขมุ), บอกบ่อ,หญ้าใบเลี่ยม(ลั้วะ), หน่อเจ๊าะบิ๊ค่อ(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน)
 
  ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ สูง 15-50 ซม. กิ่งก้านเป็นสันสามเหลี่ยม
 
  ใบ รูปไข่หรือรูปใบหอก กว้าง 2-4 ซม. ยาว 8-10 ซม. หลังใบมีขน ท้องใบผิวเรียบ ก้านใบแผ่เป็นปีก
 
  ดอก ออกเป็นช่อที่ซอกใบหรือปลายกิ่ง ดอกรูปดอกถั่วสีม่วง ออกดอกในราวเดือน พ.ย.-ม.ค.
 
  ผล -
 
  สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ - ใบและลำต้น ต้มน้ำดื่มเป็นยาฆ่าพยาธิ (ดื่มติดต่อกันทุกวันอย่างน้อยหนึ่งเดือน)(ไทลื้อ)
ราก ต้มน้ำดื่มเป็นยาแก้อาการปวดท้องร่วมกับขี้อ้น มะแฟนข้าว หงอนไก่ และดูลอย(ขมุ)
ราก นำมาต้มน้ำดื่มแก้ปวดหลังปวดเอว(ลั้วะ)
ราก ต้มดื่มน้ำแก้อาการเจ็บท้อง ท้องอืด มีลมในท้อง และแก้อาการปวดเอว(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน)
 
  อ้างอิง เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
ลักษณะ http://www.oocities.org/mednganss/FOVER42.html
 
  สภาพนิเวศ -
 
  เอกสารประกอบ
 
ภาพนิ่ง